วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เอกสารการซื้อขายสินค้า


เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้า


                      1.ใบขอซื้อ (Purchase Requisition) คือ เอกสารที่แผนกคลังสินค้าจัดทำขึ้นเพื่อแจ้งว่าสินค้าชนิดใด ประเภทใดของกิจการใกล้จะหมด และต้องการสั่งซื้อเพิ่มปริมาณเท่าไร โดยจัดทำใบขอซื้อสินค้าส่งไปให้แผนกจัดซื้อดำเนินการต่อ
                      2.ใบสั่งซื้อสินค้า  (Purchase Order) คือเอกสารที่แผนกจัดซื้อสินค้าจัดทำขึ้นหลังจาก ได้รับใบขอซื้อสินค้าจากแผนกคลังสินค้าแล้ว ก็จะดำเนินการคัดเลือกสินค้าจากผู้ขายสินค้าหลายรายเพื่อให้ได้สินค้าที่ดีมีคุณภาพและราคาถูก เมื่อตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าจากผู้ขายสินค้ารายที่คัดเลือกแล้ว จึงจัดทำใบสั่งซื้อสินค้าส่งไปให้ผู้ขายสินค้าเพื่อแจ้งให้ผู้ขายสินค้าว่าต้องการสินค้าประเภทใด ปริมาณเท่าใด คุณภาพอย่างไร ราคาเท่าไรซึ่งรายละเอียดดังกล่าวนี้จะแจ้งไว้ในใบสั่งซื้อ
                       3.ใบกำกับสินค้า (Invoice) คือ เอกสารที่ผู้ขายสินค้าจัดทำขึ้นเพื่อส่งไปให้ผู้ซื้อพร้อมกับสินค้า
                       4.ใบรับสินค้า (Receive Report) คือ เอกสารที่ผู้ซื้อสินค้าจัดทำขึ้น หลังจากที่ได้รับสินค้าจากผู้ขายสินค้า   ผู้ซื้อจะต้องทำการตรวจนับสินค้าคู่กับใบ กำกับสินค้าที่ผู้ขายสินค้าส่งมาให้ว่าถูกต้องตรงตามที่สั่งหรือไม่ เมื่อถูกต้องแล้วก็จัดทำใบรับสินค้าส่งไปให้ผู้ขายสินค้า
                       5.ใบส่งสินค้า (Delivery note) คือ เอกสารจากผู้ส่งสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งแสดงสินค้าที่จัดส่งถึงผู้รับ เป็นหลักฐานที่สามารถใช้ยืนยันได้ว่าส่งสินค้าไปแล้ว และใช้ตรวจสอบความถูกต้อง ซึ่งสะดวกต่อการจัดการระบบบัญชีของบริษัท-ห้างร้านต่างๆ
                       6.ใบขอลดหนี้ หรือใบส่งคืน (Debit Note or Debit Memorandum) คือ เอกสารที่ผู้ซื้อจัดส่งให้ผู้ขาย เพื่อแจ้งให้ทราบว่าได้รับสินค้าแล้วปรากฏว่าสินค้าส่งมาไม่ตรงตามใบสั่งซื้อ หรือสินค้าชำรุด หรือคิดราคามากไป และผู้ซื้อส่งคืนโดยไม่รับสินค้าแลกเปลี่ยน ผู้ขายอาจลดราคาให้สำหรับสินค้าที่ส่งคืน เมื่อผู้ซื้อส่งคืนสินค้าจะออกใบลดหนี้ หรือใบส่งคืน เมื่อผู้ซื้อส่งคืนสินค้าจากการซื้อเป็นเงินสดจะได้รับเงินสดคืน   แต่ถ้าซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อจะลดยอดเจ้าหนี้การค้า
                        7.ใบหักหนี้ หรือใบรับคืน (Credit Note or Credit Memorandum) คือเอกสารที่ผู้ขายออกให้ผู้ซื้อ เพื่อแจ้งว่าผู้ขายได้รับคืนสินค้าจากผู้ซื้อ เนื่องจากสินค้าชำรุด หรือส่งไม่ตรงตามใบสั่งซื้อ หรือคิดราคามากไปโดยผู้ขายอาจลดราคาสินค้าให้ผู้ซื้อ ในกรณีที่ผู้ซื้อซื้อสินค้าเป็นเงินสดผู้ขายจะส่งเงินสดคืน แต่ถ้าผู้ซื้อ ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อผู้ขายจะลดหนี้ให้กับผู้ซื้อ และผู้ขายจะออกใบลดหนี้ หรือใบรับคืนให้ผู้ซื้อเป็นหลักฐานในการลดหนี้
                       8.ใบเสร็จรับเงิน (Receipt) คือ เอกสารที่ผู้ขายออกให้ผู้ซื้อ กรณีขายสินค้าเป็นเงินสดหรือรับชำระหนี้จากลูกค้าที่ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อหรือรับชำระหนี้จากลูกหนี้อื่น
อ้างอิง : สมาพร  ดีวัน.  “หัวข้อ : เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้า” ในเอกสารการสอน วิชาบัญชีเบื้องต้น 2   รหัสวิชา  2201-1003. แผนกวิชาการบัญชี  วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์, 2545.

เอกสารทางด้านการเงิน

การดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรม  เกษตรกรรม  การขายและการบริการนั้น  จะมีความเกี่ยวข้องกับสินค้า เงินทอง การจัดจ้าง จัดซื้อ ตลอดจนการขนส่ง ในแต่ละกระบวนการของการประกอบการธุรกิจนั้น  จะมีเอกสารต่าง ๆ  เข้ามาเกี่ยวข้องกับการขายและการประกอบธุรกิจ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้ความเข้าใจ  ตลอดจนกระบวนการต่าง ๆ  ในด้านการค้าและการขนส่ง  ในเนื้อหาต่อไปนี้จะกล่าวถึงเอกสารธุรกิจ ความสำคัญของเอกสารธุรกิจ  ตลอดจนประเภทของเอกสารธุรกิจ  และเอกสารธุรกิจที่ใช้เป็นการขนส่ง

เอกสารการนำเข้าและส่งออก


เอกสารสำหรับการนำเข้าสินค้า
  1. ใบขนสินค้าขาเข้า (Import Declaration)
  2. ใบตราส่งสินค้าทางเรือ (B/L-Bill of Lading), ทางอากาศ (AWB-Air Way Bill)
  3. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
  4. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
  5. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า (ถ้ามี) (Import License)
  6. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (กรณีขอลดอัตราอากร) (Certificates of Origin)
  7. เอกสารอื่น ๆ เช่น แค๊ตตาล๊อก เอกสารแสดงส่วนผสม

เอกสารสำหรับการส่งออกสินค้า
  1. ใบขนสินค้าขาออก (Export Declaration)
  2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
  3. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการส่งออก (ถ้ามี) (Export License)
  4. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (ถ้ามี) (Certificates of Origin)
  5. เอกสารอื่น ๆ เช่น แค๊ตตาล๊อก เอกสารแสดงส่วนผสม

เอกสารการคลังสินค้า


การคลังสินค้า หมายถึง กระบวนการเก็บสินค้า วัสดุและสิ่งต่างๆ อย่างมีระบบ เพื่อที่จะจำหน่ายสินค้าที่เก็บไว้ออกไปอย่างถูกต้อง  รวดเร็ว ทันเวลา และอยู่ในสภาพที่ดี
ประโยชน์ของคลังสินค้า
1.  ทำให้ต้นทุนของสินค้าลดลง
2.  เป็นการป้องกันการขาดมือของสินค้าที่จะขาย
3.  ช่วยลดปัญหาอันจะเกิดขึ้นเนื่องจากการขนส่ง
4.  สามารถผลิตได้ในปริมาณเกินกว่าความต้องการตามฤดูกาล
5.  ช่วยให้ได้ใช้สินค้านั้นๆ ได้ทันเวลาตามต้องการ
6.  ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
7.  ช่วยให้การผลิตดำเนินไปได้โดยปกติ
8.  ช่วยให้เครดิตแก่อุตสาหกรรมหรือพ่อค้าที่มีทุนน้อย
9.  ช่วยให้ราคาสินค้ามีเสถียรภาพ
       10.   ช่วยเก็บพักสินค้าชั่วคราวที่จะต้องส่งออกไปต่างประเทศอีกต่อหนึ่งในลักษณะของ Re-export

ขอบเขตในการดำเนินงานคลังสินค้า

1.  รับฝากสินค้าโดยได้รับเงิน หรือค่าตอบแทน หรือประโยชน์อื่นใด
2.  ให้ผู้ฝากยืมเงินโดยเอาสินค้าที่ฝากไว้นั้นจำนำไว้เป็นประกัน
3.  ให้บริการด้านความเย็นเพื่อเก็บรักษาสินค้า หรือด้วยกรรมวิธีอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ของผู้ฝาก
4.  กระทำการซื้อขาย แลกเปลี่ยน เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการคลังสินค้า
5.  รับมอบอำนาจจากผู้ฝากสินค้าให้กระทำตามแบบพิธีการของศุลกากรเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออก
6.  นำเงินที่ได้รับจากการบริการไปลงทุนหาผลประโยชน์

ประเภทของคลังสินค้า

การจัดแบ่งตามลักษณะของบุคคลที่ใช้ประโยชน์จากคลัง      สินค้า
1.  คลังสินค้าส่วนตัว (Private Warehouse) เป็นคลังสินค้าที่บริษัทสร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับเก็บรักษาสินค้าของบริษัทเอง
2.     คลังสินค้าสาธารณะหรือคลังสินค้าให้เช่า (Public Warehouse) เป็นคลัง 

เอกสารประกันภัย


การประกันภัย คือ การบริหารความเสี่ยงภัยวิธีหนึ่ง ซึ่งจะโอนความเสี่ยงภัยของผู้เอาประกันภัยไปสู่บริษัทประกันภัย เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ได้รับความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องเสียเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันภัยตามที่ได้ตกลงกันไว้
การประกัน (Insurance) คือการบริหารจัดการความเสี่ยงรูปแบบหนึ่ง โดยมีองค์ประกอบสามส่วน คือ
  • ผู้รับประกัน (Insurer)
  • ผู้เอาประกัน (Insured) หรือผู้ถือกรมธรรม์ (Policy Holder)
  • ผู้รับผลประโยชน์ (Beneficiary)
การประกันจักต้องผ่านกระบวนการพิจารณารับประกัน (Underwriting) เพื่อผู้รับประกันจักประเมินความเสี่ยงล่วงหน้าของ บุคคล, กลุ่มบุคคล หรือ ทรัพทย์สิน นั้น ๆ พร้อมกำหนด รายละเอียดความคุ้มครอง และค่าเบี้ยประกัน ผู้รับประกันอาจรับประกัน โดยแบ่งความเสี่ยงมาส่วนหนึ่ง หรือ ปฏิเสธ หากความเสี่ยงนั้นไม่อาจรับได้ หรือ ผู้รับประกันอาจรับประกันโดยเพิ่มอัตราเบี้ยพิเศษ เพื่อให้สามารถครอบคลุมความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
การทำประกัน เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยคู่สัญญาต่างมีหน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบต่อกัน ผู้รับประกันจักต้องคุ้มครองผู้เอาประกันตามรายละเอียดในสัญญาเมื่อมีความสูญเสีย เสียหายเกิดขึ้น โดยชดเชยตามรายละเอียดความคุ้มครอง ผู้เอาประกันก็มีหน้าที่ชำระเบี้ยประกันตามที่ระบุในสัญญาเพื่อให้ความคุ้มครองเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
การทำประกันจุดประสงค์แท้จริงเพื่อแบ่งเบาความเสี่ยง จากบุคคล, กลุ่มบุคคล หรือ ทรัพย์สินนั้น ๆ ออกเป็นส่วนโดยร่วมกันชดเชยเมื่อมีความสูญเสีย เสียหายเกิดขึ้น โดยยึดหลักสุจริตเป็นสำคัญ และการทำประกันมิใช่สัญญาเพื่อค้ากำไร

เอกสารทางการขนส่ง


เอกสารเกี่ยวกับการขนส่ง
1.ใบจองเรือ(Booking Note)
2.ใบสั่งให้ขนสินค้าขึ้นเรือ(Shipping Order)
3.ใบขนสินค้าขึ้นเรือ(Mate's Receipt)
4.ใบตราส่งสินค้า(Bill of Lading)
5.สัญญาเช่าเหมาเรือ(Charter Party,C/P)
6.ใบสั่งปล่อยสินค้า(Delivery Order D/O)
7.รายการบัญชีสินค้า(Maninfest)
8.ใบพัสดุภัณฑ์ทางอากาศ(Air Way Bill)
9.ใบตราส่งทางรถไฟ(Rail Way Bill)
10.ใบรับพัสดุภัณฑ์ไปรษณีย์(Parcel Post Notification)
ข้อดีข้อเสียของการขนส่งทางรถไฟ
ข้อดี 1.กำหนดเวลาได้แน่นอน
2.รวดเร็ว สามารถขนส่งสินค้าได้ทันตามกำหนดเวลาที่ต้องการ
3.บรรทุกสินค้าได้ครั้งละมากๆ
4.ปลอดภัยสูง เมื่อเทียบกับเส้นทางอื่น
5.สามารถขนส่งได้ทุกสภาพดินฟ้าอากาศ
ข้อเสีย 1.ไม่สามารถขนส่งสินค้าให้ถึงที่ต้องการขนถ่ายได้
2.ความคล่องตัวในการขนส่งต่ำกว่าวิธีอื่นเพราะเวลาเดินรถจำกัด
3.มีความคล่องตัวน้อยกว่าการขนส่งแบบอื่นเพราะกฎระเบียบมาก
4.ไม่เหมาะสมกับผู้ส่งสินค้ารายย่อยปริมาณน้อย